Friday, 27 December 2024

Problem Solving คืออะไร กระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

สำหรับ Problem Solving คือกระบวนการแก้ปัญหา ที่สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งถือว่าจะมีประโยชน์เป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องการทำงาน รวมไปถึงการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะการค้นหาปัญหา ที่เป็นสาเหตุของปัญหา จะทำให้สามารถมีทางเลือกในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้ แน่นอนว่าการค้นหาปัญหาจะมีการใช้แนวคิดต่างๆ ที่หลากหลายกันไป เพื่อที่จะสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการค้นหาปัญหาที่กำลังเผชิญ

โดยที่รูปแบบการแก้ปัญหาที่นำมาเขียนนั้น จะเป็นการเน้นไปในเรื่องของการแก้ปัญหาด้วยข้อมูลที่มี แทนการใช้อารมณ์ หรือความรู้สึกที่ยังมาได้รับการพิสูจน์ โดยที่แนวทางดังกล่าวถึงแม้ว่าจะสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาต่างๆ ได้ทั้งหมด แต่จะมีความเหมาะสมกับการสืบค้น และแก้ไขปัญหาในการทำงานมากกว่าในการนำมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องส่วนตัว

รูปแบบการแก้ปัญหาเบื้องต้น

สำหรับรูปแบบการแก้ปัญหา หรือกระบวนการแก้ปัญหาในรูปแบบของ Problem Solving จะมีความเหมาะสมกับการนำมาใช้สำหรับการสืบค้น และแก้ปัญหาในการทำงาน เพราะจะเป็นการมุ่งเน้นไปในเรื่องของการร่วมกันพิจารณาเป็นกลุ่ม ยกตัวอย่างก็คือ ทีมงาน หรือคณะกรรมกราที่มีความรู้ มีประสบการณ์ เข้ามาร่วมกันค้นหาสาเหตุซึ่งเป็นรากเหง้าที่แท้จริงของปัญหาที่กำลังเผชิญ

Problem Solving คืออะไร กระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

รวมไปถึงการพูดคุยเพื่อกำหนด หรือเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่จะสามารถได้ผลลัพธ์ที่ยั่งยืน และยาวนาน เพราะการร่วมกันพูดคุย แนะนำ และหาวิธีการร่วมกันด้วยประสบการณ์ ความรู้ และความสามารถ จะช่วยให้เจอวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ต่อปัญหาที่กำลังเผชิญ โดยที่รูปแบบการแก้ปัญหาเบื้องต้นนั้นจะประกอบไปด้วยขั้นตอนหลักๆ 6 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. นิยามปัญหา (Define The Problem)

สำหรับ นิยามปัญหา (Define The Problem) ถือว่าเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะเป็นขั้นตอนของการเจาะลึกลงไปถึงสาเหตุของปัญหาที่ต้องการจะแก้ไข เพราะถ้าหากวิเคราะห์ปัญหาได้ดี เจาะจงปัญหาได้อย่างชัดเจน ก็จะยิ่งช่วยให้สามารถดำเนินการ และมองหาวิธีการแก้ไขที่ดีที่สุดได้ง่ายขึ้น โดยปกติแล้วเรามักจะเข้าใจผิดว่าอาหารที่ปรากฏขึ้นมานั้นคือตัวปัญหา จึงทำให้หลายคนมัวแต่เสียเวลา และความพยายามไปกับการศึกษาติดตามอาการที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลของปัญหา แทนที่จะเป็นการศึกษาสาเหตุของปัญหา

2. ระบุรากเหง้าของปัญหา (Determine The Root Causes Of The Problem)

สำหรับ ระบุรากเหง้าของปัญหา (Determine The Root Causes Of The Problem) คือขั้นตอนการค้นหาคำตอบว่า ทำไมปัญหาถึงเกิดขึ้น แน่นอนว่ามีปัจจัยหลายอย่าง ต่อการเกิดปัญหาที่แตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้นการระบุรากเหง้าของปัญหา (Determine The Root Causes Of The Problem) ก็จะทำให้สามารถเข้าใจปัญหาได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้สามารถจัดการข้อมูลให้เป็นเหตุ รวมไปถึงมองเห็นสาเหตุของปัญหาที่โดดเด่นขึ้นมาได้ จึงทำให้สามารถกำหนดรากเหล่าของปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นเป็นรายบุคคล ระบบการทำงาน เวลา งบประมาณ ทัศนคติ การสื่อสาร และอื่นๆ อีกมากมาย เพราะทุกอย่างล้วนมีจุดประสงค์ และเป็นองค์ประกอบที่มีความเกี่ยวข้องกัน

3. กำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหา (Develop Alternative Solution)

สำหรับ กำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหา (Develop Alternative Solution) จะเป็นการระดมสมอง ซึ่งจะมีความคล้ายคลึงกับขั้นตอนที่หนึ่งอย่าง นิยามปัญหา (Define The Problem) แต่จะมีข้อแตกต่างกันอยู่ที่ การระดมสมองจะเป็นการระดมสมองเพื่อการพิจารณาถึงทางออกของการแก้ปัญหา ทั้งหมดเพราะการรู้ถึงปัญหา รู้ถึงรากเหง้าของปัญหาที่ชัดเจนมากที่สุดแล้ว หลายครั้งการด่วนสรุปผลการแก้ไข อาจจะไม่ใช้วิธีที่ดีที่สุด เพียงแค่เป็นวิธีที่คิดออกได้เร็วที่สุดเพียงเท่านั้น และการ กำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหา (Develop Alternative Solution) ก็จะช่วยให้สามารถรู้ถึงวิธีที่ดีที่สุดต่อการแก้ไขปัญหาที่กำลังเผชิญได้ดีที่สุด

Problem Solving คืออะไร กระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

4. เลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด (Select a Solution)

สำหรับ เลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด (Select a Solution) จะเป็นขั้นตอนในการประเมินจุดอ่อนจุดแข็งของทางเลือก เพราะต้องบอกก่อนว่าทุกทางเลือกจะมีข้อดีที่สุด และข้อเสียที่สุด ที่แตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้นการพิจารณาทางเลือกที่ผ่านการกลั่นกรองมาเป็นอย่างดี จะช่วยให้สามารถคัดสรรทางเลือกที่น่าสนใจในแต่ละหัวข้อ ในแต่ละหมวดหมู่ออกมาเพื่อทำการประกอบพิจารณาได้อย่างดีที่สุด โดยที่ทางเลือกในการแก้ปัญหาที่ถูกแยกออกมาในแต่ละหัวข้อ ก็จะต้องนำมาพิจารณา ปรึกษา และผ่านการยอมรับ เพราะสิ่งที่จะต้องทำเมื่อทางเลือกที่คิดว่าดีที่สุดนั้นเป็นไปไม่ได้ก็คือ การพิจารณาทางเลือกอื่นที่อาจเหมาะสมน้อยกว่าแต่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

5. ทางเลือกมาใช้ในการแก้ปัญหา (Implement The Solution)

สำหรับ ทางเลือกมาใช้ในการแก้ปัญหา (Implement The Solution) จะเป็นขั้นตอนที่หลังจากเลือกได้แล้วว่าจะใช้ทางเลือกใดในการแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญ ซึ่งก็คือจุดเริ่มต้นของแผนงานโครงการ และการทำงาน โดยที่หลักๆ จะต้องมีการกำหนดคำถามเพื่อถามต้อบ ที่จะช่วยเพิ่มความมั่นใจ และยืนยันถึงประสิทธิภาพของทางเลือกที่ตัดสินใจจะนำมาใช้

6. ประเมินผลการแก้ปัญหา (Evaluate The Outcome)

สำหรับ ประเมินผลการแก้ปัญหา (Evaluate The Outcome) จะเป็นการติดตามการดำเนินการ เพื่อให้มั่นใจว่าการแก้ปัญหาที่ดำเนินการไปแล้วในแต่ละภารกิจ ในแต่ละขั้นตอน จะสามารถสำเร็จได้ตามเป้าหมาย และความต้องการ เพราะปัญหาที่แตกต่างกัน จะมีตัวกำหนด และการเคลื่อนไหวที่แตกต่างกัน อาจจะรวมไปถึงงบประมาณค่าใช้จ่ายที่ต้องอยู่ในงบประมาณที่จำกัด รวมไปถึงปัญหาที่ได้รับการแก้ไขในช่วงเวลาที่กำหนด โดยที่หลายๆ คนมักจะมองข้ามขั้นตอนการประเมิน ซึ่งทุกการประเมินจะทำให้เราสามารถเห็นศักยภาพในการทำงาน ในการแก้ไข รวมไปถึงมองเห็นช่องว่างที่ต้องแก้ไข หรือปรับปรุง

บทสรุป Problem Solving

จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการแก้ไข การดำเนินการในส่วนต่างๆ รวมไปถึงกระบวนการการแก้ไข Problem Solving จะมีประโยชน์เป็นอย่างมาก ถ้าหากผ่านการคัดกรอง แนวคิด และวิธีการที่ถูกต้อง ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทักษะที่ดี ที่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งกับการทำงาน และชีวิตประจำวัน เพื่อที่จะทำให้สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ เพราะการเจอปัญหารุมเร้า โดยเฉพาะปัญหาที่แก้ไขเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักจบ จะส่งผลโดยตรงต่อแนวทางความคิด จิตวิญญาณ และสภาพจิตใจนั่นเอง